Homeประวัติตัวละครสามก๊กจ๊กก๊กประวัติเกียงอุย

ประวัติเกียงอุย

เกียงอุย

เกียงอุย (อังกฤษ: Jiang Wei; จีนตัวย่อ: 姜维; จีนตัวเต็ม: 姜維; พินอิน: Jiāng Wéi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

เกียงอุย เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย

แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้นเจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผน จับเกียงอุย โดยพาแม่ของ เกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง

เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ

ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตี เสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตายพวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
ประวัติอุยเอี๋ยน
Next post
ประวัติบังทอง

No Comment

Leave a reply