Homeสามก๊กบทความสามก๊กบทกวี 7 ก้าว ของโจสิด

บทกวี 7 ก้าว ของโจสิด

บทกลอน 7 ก้าวของโจสิด

“บทกวีเจ็ดก้าว” เป็นกลอนกวีที่โด่งดังจาก “สามก๊ก” แต่งโดย “โจสิด” ผู้ที่ปราดเปรื่องหลักแหลม มีความเฉลียวฉลาด

และยังเชี่ยวชาญการด้านบทกวี

ด้วยเหตุที่เป็นคนฉลาดเฉลียว “โจสิด” จึงได้รับรักใคร่เอ็นดูจากพระบิดาคือ “โจโฉ” และเป็นมือวางอันดับต้นๆ ที่จะรับสืบทอด
อำนาจคู่กับ “โจผี”

เมื่อครั้งที่โจโฉคิดแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่า จะเลือกบุตรคนใดระหว่าง โจผีกับโจสิด ด้วยอุบายของกาเซี่ยง
ทำให้ตำแหน่งรัชทายาทตกเป็นของโจผี “โจผี” มีความไม่พอใจเกลียดชัง “โจสิด” อยู่ก่อนเป็นทุนเดิม จึงวางแผนกำจัด
น้องชายร่วมสายเลือด โดยสั่งให้ “โจสิด” เดินไป “เจ็ดก้าว” พร้อมแต่งบทกวีบทหนึ่งให้ทัน มีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่น้องที่ไม่อาจ
ฆ่าฟันกันเองได้ โดยมีข้อแม้ว่า ห้ามมีคำว่า พี่-น้อง อยู่ในบทกวีนั้น

ต้มถั่ว เผา ต้นถั่ว
ใน อวย ถั่ว ร้องไห้
เดิมนั้น ร่วม รากไม้
แล้วไฉน เร่ง เผาผลาญ

บทกวี จากสามก๊ก เรื่องนี้ ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยในหลายสำนวน

คั่วถั่ว เอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ
เมล็ดถั่วในกระทะจะไหม้
ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง
เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก

สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)

“ ต้มถั่วใช้เถาถั่วเป็นเชื้อไฟ
ถั่วร่ำไห้ในน้ำเดือดพล่าน
ต่างก่อเกิดจากรากเหง้าเดียวกัน
ใยเผาผลาญร้อนรนจนปานนี้ ”
สำนวนแปล “ว ณ เมืองลุง”

เขาต้มถั่วด้วยถั่วเป็นต้นต้น
มันร้อนรนร้องลั่นจากอวยใหญ่
โอ้เกิดหน่อเดียวกันใช่ห่างไกล
เหตุไฉนเข่นฆ่าไม่ปราณี
สามก๊กฉบับแปลใหม่ ของ วรรณไว พัธโนทัย

เถาถั่วเผาต้มถั่ว ร่ำระรัวถั่วในกระทะ
ร่วมรากเกิดแล้วจะ เร่งเผาผลาญกันทำไม
สามก๊กฉบับคลาสสิค ของ วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์
“ต้นถั่วต่างฟืนเผาต้มถั่ว
กรองกลั่นคั้นคั่วเป็นน้ำแกง
ต้นนั้นลุกไหม้อยู่ในเตา
ถั่วเล่าร่ำไห้อยู่ในหม้อ
แท้จริงรากเหง้าเถาเดียวกัน
ไฉนจึงมาพาลผลาญกันเอง”

– Unknown –

พระมารดาของทั้งสองพี่น้อง ซึ่งเฝ้าดูเหตุการณ์มาตั้งแต่เริ่มต้น ได้ยินกลอนที่โจสิตท่องขึ้นมา ก็ร้องไห้พลางถลาออกมาจาก
ที่ซ่อนตัว และกล่าวกับกษัตริย์เหว้ยเหวินตี้ว่า ” อย่าฆ่าน้อง อย่าฆ่าน้อง ! ”
ส่วนกษัตริย์เหว้ยเหวินตี้ เมื่อฟังกลอนจบ ก็เกิดความสำนึกและละอายใจ ได้ไว้ชีวิตโจสิต และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เลิกกคิดที่จะ
กำจัดโจสิต

credit : nupvs แห่ง pantip

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
หลักการนักค้าขาย
Next post
แผนผังสามก๊ก